Probiotic and Prebiotic

Healthy Natural
ในปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพด้วยธรรมชาติ และหนึ่งในอาหารธรรมชาติที่เป็นที่นิยมก็คือ พรีไบโอติก (Prebiotic) และโพรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งมีผลดีต่อลำไส้และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นเราจึงควรทำความรู้จักกับพรีไบโอติกและโพรไบโอติกให้มากขึ้น

โพรไบโอติก (Probiotic)

คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตและมีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ เป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่ผิวของเยื่อบุลำไส้ ทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร โดยการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้มากขึ้นและลดจุลินทรีย์ที่เป็นโทษลง ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ต่อสู้กับเชื้อที่เป็นอันตราย และยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค ให้ไม่สามารถมาเกาะติดกับลำไส้ โดยการหลั่งสารออกมาต่อต้าน หรือเจริญเติบโตแย่งที่ไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคเจริญได้

เชื้อจุลินทรีย์ที่จัดเป็นโพรไบโอติก ได้แก่ แบคทีเรียในกลุ่ม Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างกรดแล็คติค (Lactic Acid Bacteria, LAB) เช่น Lactobacillus Acidophilus, Lactobacillus Casei Subsps, Lactococcus Lactis, Bifidobacterium Longum และ Bifidobacterium Bifidum จะพบในผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารหมัก เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น

Probiotic Food
Yogurt
Kimchi
Yogurt

พรีไบโอติก (Prebiotic)

Probiotic Food

คือ อาหารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ในทางเดินอาหาร แต่จะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติกในลำไส้ใหญ่ โดยจะไปกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โพรไบโอติก หรือกล่าวง่ายๆได้ว่า “พรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติก”

พรีไบโอติก จัดเป็นอาหารในกลุ่ม Functional food หรืออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ เช่น โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) และ อินนูลิน (Inulin) พบได้ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะในผักผลไม้ เช่น กระเทียม หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต กล้วย แอปเปิล และเมล็ดธัญพืชบางชนิด เป็นต้น

เหตุผลที่เราควรรับประทานโพรไบโอติกและพรีไบโอติก

โพรไบโอติกจัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ Normal Flora อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายเป็นปกติ ร่างกายจะมีสุขภาพที่ดี แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุล จุลินทรีย์ประจำถิ่นถูกรุกราน อาจเกิดผลกระทบตามมาได้ ซึ่งการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้นในปัจจุบัน อาจส่งผลให้จุลินทรีย์ชนิดดีในร่างกายลดลง และเชื้อที่เป็นอันตรายเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศในทางเดินอาหาร ส่งผลทำให้เกิดโรคต่างๆได้ การรับประทานโพรไบโอติกจึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย

บทบาทของโพรไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น
  • ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย
  • กระตุ้นระบบการย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลากหลายชนิด
  • ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป
  • ช่วยกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุลได้

ส่วนพรีไบโอติก ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของโพรไบโอติก เมื่อรับประทานเข้าไป กระบวนการย่อยอาหารจะสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อโพรไบโอติก ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ และช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ พรีไบโอติกยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเรื่องการเผาผลาญ และอาจมีประสิทธิภาพในด้านการต้านโรคบางชนิด เช่น โรคสมองจากโรคตับ โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้ และโรคเบาหวาน เป็นต้น

การนำพรีไบโอติกและโพรไบโอติกมารวมกัน จะเรียกว่า ซินไบโอติก (Synbiotics) การทานทั้ง 2 ตัวพร้อมกัน จะยิ่งเสริมฤทธิ์กัน ทำให้มีจำนวนจุลินทรีย์เพิ่มมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ชอบทานเนื้อสัตว์มาเป็นเวลานาน จนจำนวนโพรไบโอติกในลำไส้ลดลง ซึ่งจะมีอาการท้องผูก ไม่ค่อยขับถ่าย การทานซินไบโอติก จะช่วยให้จำนวนโพรไบโอติกขยายตัวกลับมาฟื้นฟูได้เร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ เกิดสมดุลในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีบางรายที่ได้รับผลข้างเคียงจากการรับประทานโพรไบโอติก หรือหากรับประทานโพรไบโอติกในปริมาณที่สูงเกินไป เช่น ทำให้เกิดภาวะลมในท้อง เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือท้องเสีย เป็นต้น ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าว ควรลองลดปริมาณที่รับประทานลง หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในผู้ที่เริ่มลองรับประทานก็อาจเริ่มจากปริมาณน้อยๆก่อน และสังเกตว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนถึงปริมาณที่ต้องการ

“Food Ingredient Technology Co., Ltd. จำหน่าย ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม “SternGut” ซึ่งประกอบไปด้วย Fibers, Xylooligosaccaride, Beta Glucan และวิตามินต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงมีจำหน่าย อินนูลิน (Inulin) ซึ่งเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ (Soluble Fiber) และเป็นพรีไบโอติกชนิดหนึ่ง เหมาะสำหรับนำไปใช้เพื่อเสริมใยอาหารและเสริมพรีไบโอติกในผลิตภัณฑ์อาหารมากมาย อาทิเช่น อาหารเสริม เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม เบเกอรี่ ซอส และของหวานชนิดต่าง ๆ หากสนใจสามารถติดต่อ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ E-mail : sales@fit-biz.com

เรียบเรียงและอ้างอิงจาก :
  1. บทความเรื่อง “โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) สองคำนี้เหมือนกันหรือไม่?”, www.bumrungrad.com
  2. บทความเรื่อง “ทานโปรไบโอติกคู่กับพรีไบโอติกดีกว่ายังไง?”, www.interpharma.co.th
  3. บทความเรื่อง “พรีไบโอติก กับประโยชน์ที่ควรรู้”, www.pobpad.com
  4. บทความเรื่อง “รู้จัก PROBIOTIO และ PREBIOTIC กันหรือยัง”, http://biology.ipst.ac.th

 

เรียบเรียงโดย

อทิตยา ทรัพย์สะสม

Food Ingredient Technology Co., Ltd.
1526-1540 Soi Phatthanakan 48, Phatthanakan Road,
Phatthanakan, Suan Luang, Bangkok 10250, Thailand
Tel : +66 2073 0977
Fax : +662 7229389


© Copyright 2019 by Food Ingredient Technology. All Rights Reserved.

GFCA Co., Ltd.