สารแต่งกลิ่นรส (Flavoring Agent) เป็นหนึ่งในประเภทของวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additives) ที่สามารถให้กลิ่นอันพึงปรารถนาต่ออาหาร กลิ่นเข้มข้นอันมาจากสาร Flavors จะกระตุ้นให้สินค้าเหล่านี้เกิดกลิ่นและรสชาติตามที่ต้องการ ผู้รับประทานก็จะเกิดความเพลินเพลินเมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มนั้นเข้าไป เพราะเหตุนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีอาหารต่างก็พัฒนากระบวนการผลิต หรือปรุงสารให้กลิ่นชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Essential Oils จากธรรมชาติ, สารสกัดแยกจากธรรมชาติ หรือสารที่เกิดจากการปรุงแต่งเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการด้านกลิ่นของผู้บริโภค ซึ่งสารประกอบเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปของสารที่ละลายในน้ำ, ละลายในไขมัน, เป็นอิมัลชั่น, Paste, ผง หรืออยู่ในรูปของ Microcapsule อย่างไรก็ตาม หน้าที่และศักยภาพของสารให้กลิ่นอาหารเหล่านี้ไม่ได้เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ แต่จะเป็นตัวที่ให้กลิ่นและรส เสมือนหนึ่งได้บริโภคอาหารจากธรรมชาติ
มีกลิ่นจำพวกนี้อยู่มากมาย เช่น กลิ่นส้ม, มะนาว, สับปะรด, กล้วย, ลิ้นจี่, องุ่น, ทุเรียน, มะพร้าว, แอปเปิ้ล, ลูกเกด, เชอร์รี่, มะม่วง, แตงไทย, พีช, อะพริคอท, ลำไย, แพร์, ราสเบอร์รี่ เป็นต้น
สารเติมแต่งกลิ่นอาหารที่จัดแบ่งเป็นประเภทตามชนิดของผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่
กลิ่นอื่น ๆ สำหรับใช้เติมแต่งในอาหารสามารถแบ่งตามชนิดเฉพาะของผลิตภัณฑ์ เช่น กลิ่นไวน์, กลิ่นถั่ว, กลิ่นผลไม้อื่น ๆ, กลิ่นจากพืชหอม และกลิ่นอื่น ๆ ดังนี้
ส่วนผสมหลักของวัตถุดิบเป็นผง หรือเป็นเกล็ด ความชื้น น้อยกว่า 10% จะนิยมใช้ Flavor ที่เป็นผง หรือเกล็ดที่มีขนาดใกล้เคียงวัตถุดิบหลัก หรืออาจใช้ Flavor ในรูปของน้ำมัน โดยการให้น้ำมันแต่งกลิ่นไปเคลือบอยู่บนผิวของวัตถุดิบหลัก แล้วจึงใส่วัตถุดิบอื่นตามไป
ไม่นิยมใช้ Flavor ที่เป็นน้ำในการผสมแบบแห้ง เพราะจะทำให้ชื้น แฉะ ระหว่างการผสมมักไม่มีการให้ความร้อน
ส่วนผสมหลักของวัตถุดิบเป็นวัตถุดิบที่มีความชื้นสูง เช่นเครื่องแกง หรือน้ำพริกที่เป็น Paste หรือ Filling Bakery เช่น ไส้สังขยาใบเตย ไส้เผือกกวน ระหว่างการผสมจะมีการให้ความร้อน เพื่อให้ส่วนผสมทั้งหมดละลาย เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน
ดังนั้น Flavor ที่ใช้ในการผสมแบบนี้จะต้องเป็นกลุ่มที่ทนต่อความร้อนได้ดี ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อถูกความร้อน ละลายในน้ำหรือในน้ำมัน
ส่วนผสมหลักของวัตถุดิบเป็นวัตถุดิบพวกของเหลว ในรูปของน้ำ หรือน้ำมัน เช่นไข่ น้ำมันถั่วเหลือง เนย น้ำ ระหว่างการผสมอาจมีหรือไม่มีการให้ความร้อน เพื่อให้ส่วนผสมทั้งหมดละลาย หรือใช้การตีปั่นให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้น Flavor ที่ใช้ในการผสมแบบนี้จะต้องเป็นกลุ่มที่ทนต่อความร้อนได้ดี ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อถูกความร้อน ละลายในน้ำหรือในน้ำมัน
เนื่องด้วยผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันมานิยมใช้สารแต่งกลิ่นรสตามธรรมชาติ (Natural Flavoring ) และ สารแต่งกลิ่นรสเลียนแบบธรรมชาติ (Natural Identical Flavoring) มากกว่าที่จะใช้ สารแต่งกลิ่นสังเคราะห์
(Artificial Flavoring) กลิ่นคาวมีการเจริญเติบโตมากขึ้นถึง 26% แต่ในขณะที่กลิ่นแนวผลไม้เดิม ๆ เริ่มมีความนิยมน้อยลง ผู้ประกอบการเริ่มหากลิ่นผลไม้แนวใหม่ รวมถึงกลิ่นดอกไม้เช่นกัน ก็เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งทาง FIT เองก็ได้มีการนำเข้าสารแต่งกลิ่นรสอย่างหลากหลาย จากยุโรป เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ประกอบการที่หลากหลายมากขึ้นด้วยค่ะ
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนคิดว่า การได้ชิม ได้กินอาหารรสชาติเดิม ๆ ที่คุ้นเคย หรือได้กลิ่นรสบางอย่างแล้วนึกถึงความทรงจำเก่า ๆ แค่นี้ก็ทำให้เรารู้สึกอิ่มเอมใจอย่างที่สุดแล้ว ... จริงไหม
จิตรลัดดา กิติศรีวรพันธุ์